ไม่มีหมวดหมู่

ไม่มีหมวดหมู่

คอลลาเจน Collagen

#พลอยากเล่า #คอลลาเจน คอลลาเจนเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งครับ ร่างกายมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบอยู่ประมาณ 20% ซึ่ง 30% ของโปรตีนทั้งหมดคือคอลลาเจน คอลลาเจนอยู่ตามผิวหนัง กล้ามเนื้อ กระดูก ทำหน้าที่เหมือนกับกาวที่ช่วยให้ความยืดหยุ่น ยึด ซ่อมแซมและยึดอวัยวะต่างๆ เข้าหากัน ร่างกายของเราสามารถสร้างคอลลาเจนได้เอง แต่เมื่อเราอายุมากขึ้น ความสามารถในการสร้างคอลลาเจนของร่างกายก็น้อยลง ส่งผลให้กระดูกเสื่อม กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง หรือผิวหน้าเหี่ยวย่น การรับประทานอาหารเพื่อช่วยเพิ่มคอลลาเจนนั้นสามารถทำได้ แต่ต้องเข้าใจก่อนว่า ร่างกายของเราไม่ได้ดูดซึมคอลลาเจนที่เรารับประทานทั้งหมด ต้องมีการย่อยให้แตกออกเป็นกรดอะมิโนในระบบทางเดินอาหารก่อน ซึ่งร่างกายจะนำมาใช้เมื่อมีความต้องการ ปัจจุบันมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า การรับคอลลาเจนต่อเนื่องในระยะเวลา 8 สัปดาห์ ได้ทำให้ผิวหนัง และเส้นผมดีขึ้นจริง ซึ่งเราสามารถเพิ่มคอลลาเจนจากอาหารที่เรารับประทานได้ อย่างผักสีเหลือง แดง หรือส้ม เช่น ฟักทอง มะเขือเทศ พริกหวาน หรืออาหารที่มีรโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ และไข่ไก่ ก็สามารถเพิ่มคอลลาเจนได้โดยไม่ต้องพึ่งอาหารเสริมแต่อย่างใด เนื่องจากอาหารเสริมมีราคาสูงกว่าอาหารตามธรรมชาติ และอาจเกิดอาการแพ้ได้ การทานอาหารดีมีประโยชน์เรียกได้ว่าคุ้มค่าและให้ประโยชน์กับร่างกายได้เช่นกัน นอกจากอาหารที่ดีแล้ว การหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้ร่ายการสร้างคอลลาเจนได้น้อยลง อย่างเช่น การโดนแดดแรงๆ การสูบบุหรี่ และการรับประทานอาหารรสหวานจัด ก็ช่วยได้ เชื่อเถอะครับว่า เราสามารถดูแลตัวเองได้ด้วยการรับประทานอาหารที่ดี   ฟัง Podcast ประกอบบทความได้ที่ “Good Diet EP 25 : Collagen

Food Fact, ไม่มีหมวดหมู่

อาหารทารก ประตูสู่อนาคต

#พลอยากเล่า การเริ่มต้นที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ นักโภชนาการเล่าให้พลฟังว่า กระทรวงสาธารณสุขจะย้ำและให้ความสำคัญกับ 1,000 วันแรกของเด็ก ต้องมั่นใจว่าเด็กต้องได้รับการดูแลที่ถูกต้องเพื่อที่จะมีสุขภาพที่ดีในอนาคต รับการฉีดวัคซีน มีการดูแลป้องกันโรคติดเชื้อ และได้รับโภชนาการอาหารที่ดี ถ้าดูแลไม่ดี เด็กอาจจะมีภาวะผอม แคระแกร็นได้ในอนาคต องค์การอนามัยโรคจะแนะนำให้เด็กกินนมแม่ โดยเฉพาะในช่วง 0-6 เดือน นมแม่คืออาหารหลักที่ดีที่สุด เด็กที่กินนมแม่จะมีภูมิคุ้มกัน ไม่ค่อยแพ้อะไร ซึ่งเด็กสามารถกินนมแม่ได้ถึง 2 ขวบ แต่คุณค่าของนมแม่ก็จะลดลงตามเวลา นั่นคือสาเหตุที่หลังจาก 6 เดือน เด็กต้องได้รับอาหารเสริม ซึ่งควรเป็นอาหารที่ย่อยได้ง่าย หลักๆ ก็คือข้าว ต้องบดให้ละเอียด อาจจะผสมนมแม่ หรือน้ำสต๊อกที่ไม่ปรุงรสก็ได้ นอกจากนั้น ก็ยังมีไข่แดง ตับ แหล่งของธาตุเหล็ก ช่วยสร้างเม็ดเลือดบำรุงสมอง หรืออย่างวิตามินซี เราก็สามารถคั้นส้มแกะเปลือก แล้วป้อนเด็กสดๆ หลักการเตรียมอาหารของเด็กคือ ต้องบดให้ละเอียดเพราะกระเพาะเด็กยังไม่แข็งแรง ที่สำคัญในช่วงขวบปีแรก ต้องยึดนมแม่เป็นอาหารหลัก ส่วนที่ให้เพิ่มเติมถือเป็นอาหารเสริม ช่วงเริ่มต้นควรให้ลองทีละชนิด เผื่อในกรณีที่เด็กมีอาการแพ้ จะได้รู้ได้ว่าแพ้อะไร นักโภชนาการเล่าว่า พวกผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ อย่าง สตรอว์เบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ ซึ่งเป็นผลไม้ป่า เป็นอาหารที่ควรจะหลีกเลี่ยงเพราะอาจเกิดอาหารแพ้ได้ง่าย หลังจาก 1 ขวบ เป็นช่วงที่เข้าสู่วัยเตาะแตะ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในวัยเปราะบาง ต้องดูแลอย่างดี เด็กเริ่มลุกขึ้นมาเดินเตาะแตะ มีการเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคม เห็นโลกมากขึ้น ชอบเล่น ชอบออกนอกบ้านมากขึ้น เด็กบางคนต้องเริ่มเรียนรู้ที่จะใช้กระโถน หลายๆ ครั้งก็ไม่สนใจเรื่องกินข้าว เป็นช่วงที่แม่ต้องใช้เวลาดูแล เพราะฉะนั้น แม่ไม่ควรมีลูกติดกันเร็วเกินไป อย่างน้อยควรห่างกันประมาณ 2 ปี มิฉะนั้น แม่จะเอาเวลาไปสนใจน้อง ไม่ดูแลพี่ได้ แม่ควรลุกขึ้นมาทำอาหารให้ลูกกิน อาหารต้องเหมาะกับความต้องการตามวัย พยายามให้เด็กผึกกินอาหารเอง ไม่เอาแต่ป้อน อาจจะทำอาหารในลักษณะที่ใช้มือหยิบจับได้บ้าง เพื่อที่เด็กจะได้ฝึกใช้กล้ามเนื้อ และต้องระวังไม่ปล่อยหรือตามใจให้เด็กกินแต่ของซ้ำๆ อย่างที่เรียกกันว่า Food Jag คือกินอร่อยแล้ว ก็เลยไม่อยากลองอะไรใหม่อีก นอกจากวัยเตาะแตะ ก็ยังมีวัยผู้สูงอายุ รวมถึงผู้หญิงมีครรภ์ ซึ่งถือว่าเป็นช่วงหรือภาวะที่เปราะบาง ต้องได้รับการดูแลอย่างดี เดี๋ยวในครั้งหน้า พลจะนำสิ่งที่เราต้องคำนึงและใส่ใจกับหญิงตั้งครรภ์มาฝาก ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพที่ดีถ้วนหน้าครับ   ฟัง Podcast ประกอบบทความได้ที่ “Good Diet EP12 : อาหารทารก ประตูสู่อนาคต”

next

End of content

No more pages to load